June 11, 2010
“โลกาภิวัตน์” ได้ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนบนโลกใบนี้ มีความร้อยรัดใกล้ชิดกันยิ่งกว่ายุคใดในประวัติศาสตร์

ประเทศไทยมีความสามารถในการโอบรับโลกาภิวัตน์เพื่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนได้อย่างน่าพึงพอใจยิ่งนัก แต่ต้นทุนที่ต้องจ่ายออกไปคือ “อัตลักษณ์” ทางวัฒนธรรมไทยที่กำลังเลือนหายไปพร้อมกับการเปิดรับวัฒนธรรมโลกที่แนบสนิท มากับเทคโนโลยีและความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ

ทางออกของประเทศไทยย่อมไม่ใช่การ “ปิดรับ” วัฒนธรรมจากโลกภายนอก เพราะถึงที่สุดแล้วความเจริญงอกงามของวัฒนธรรมไทย ก็ย่อมอยู่ที่การดูดซับเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เพื่อนำมาปรุงรสให้เอกลักษณ์ไทยมีความสดชื่นและหนุ่มแน่นอยู่เสมอ ดังนั้น การเลือกรับและดัดปรุงวัฒนธรรมจากภายนอกอย่างชาญฉลาด จึงเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการดำรงรักษาความงามและความภาคภูมิใจในวัฒนธรรม ให้ส่งผ่านไปสู่อนาคตอย่างยั่งยืน
“Global Culture: โครงการศึกษาวิจัยพลวัติการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมโลกที่มีผลกระทบต่อ วัฒนธรรม-สังคมไทย” นับเป็นผลงานยอดเยี่ยมชิ้นหนึ่งในความร่วมมือระหว่างสภาพัฒน์และศศินทร์ ที่ช่วยคลี่คลายให้เห็นความละเอียดอ่อนซับซ้อนของวัฒนธรรมโลกที่เข้ามามีปฏิ สัมพันธ์กับความเป็นไทยในหลากหลายวิถี แทรกซึมเข้าไปทั้งในแสงสีเมืองกรุงและชนบทเขียวขจี
ทว่าประเด็นสำคัญของงานวิจัยชิ้นนี้ คือ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายอย่างเป็นรูปธรรมในการ “หลอมรวม” วัฒนธรรมโลกให้สอดร้อยและเสริมสร้างกับอัตลักษณ์แห่งความเป็นไทย เพื่อการเติบโตงดงามของวัฒนธรรมไทย
ขอบคุณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์ฯ) และ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ใส่ใจในความงามอ่อนช้อยแห่งวัฒนธรรมไทยและแปรเปลี่ยนมาเป็นผลงานวิจัยที่ เปี่ยมล้นคุณค่านี้
ขอบคุณ ดร.ปวิตรา จินดาหรา และ ดร. ภัทรวรรณ ประสานพานิช ที่ได้ให้โอกาสกับ SIU ในการมีส่วนร่วมกับโครงการวิจัยที่สร้างคุณูปการนี้
|
This entry was posted on 7:55 PM and is filed under . You can follow any responses to this entry through the RSS 2.0 feed. You can leave a response, or trackback from your own site.

0 comments: