November 19, 2007
โดย เจริญชัย ไชยไพบูลย์วงศ์ : Siam Intelligence Unit
บทความนี้เป็น ตอนที่ 4 ของ Series เรื่องยาว Non Linear Economics ซึ่งผมพยายามสร้างสรรค์กำนัลแด่ท่านผู้ฟัง โดยในตอนนี้ได้หยิบยืมวาทะเด็ดของนักเศรษฐศาสตร์ชื่อก้องโลก Joseph Schumpeter มาเป็นชื่อตอน “การทำลายอย่างสร้างสรรค์ Creative Destruction” แต่ในที่สุด ผมตัดสินใจแบ่งเป็น 2 ตอนย่อย ให้ชื่อตอนแรกแบบ Cool Cool ว่า “หากไม่ผ่านความเหน็บหนาว ไยจะได้ชมเหมยงาม” ซึ่งอาจเดินอยู่บนตรรกะเดียวกัน คือ การสร้างสรรค์ ความสวยงาม และคุณภาพสุดยอด ไม่อาจได้มาโดยง่ายดาย อาจต้องผ่านความเจ็บปวด ความผิดหวัง เศร้าเสียใจ แต่หากเราอดทนจนถึงที่สุด ทุ่มเทกำลังเคี่ยวกรำรีดเค้นความสามารถอย่างไม่ย่อท้อ ผลสุดท้ายย่อมหอมหวาน คนที่เคยผ่านเส้นทางนี้ จะรู้สึกซาบซึ้งเป็นอย่างดี

โดยทั่วไปแล้ว แฟนรายการจะทราบว่า ผมไม่อยากพูดคุยเรื่องปัญหาสังคม เพราะคงแก้ไขได้ยาก เกินกำลังและความถนัดเฉพาะทางของผม สิ่งที่คิดว่าตนเองทำได้ดีกว่า คือ การทุ่มเทความสามารถอันน้อยนิดในการทำบางสิ่งให้เป็นเลิศ ซึ่งในวันนี้ผมได้ค้นพบแล้ว นั่นคือ การก่อตั้ง SIU เพื่อเป็นฐานความรู้มูลค่าเพิ่มให้กับพี่น้องชาวไทยของเรา ได้ใช้เรียนรู้และฝึกฝนตัวเอง จนมีความพร้อมทั้งความรู้และภูมิปัญญา เมื่อเวลานั้นมาถึง พวกเราช่วยกันสร้างสังคมให้ดีขึ้นได้ไม่ยากนัก โดยอาจร่วมมือกันหรือแยกกันทำงานอย่างอิสระล้วนแต่เกิดประโยชน์ต่อสังคม ซึ่งยังขาดแคลนผู้มีความรู้ความสามารถ แนวทางนี้อาจจะดีกว่าการต่อสู้เพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสังคมอย่างรุนแรงก็ เป็นได้ โดยเฉพาะในโลกปัจจุบันซึ่งทางอ้อมมีบทบาทสำคัญกว่าทางตรง อย่างที่ Googles ได้พิสูจน์มาแล้ว โดยให้บริการค้นหาข้อมูลฟรี แต่สามารถมีรายได้ทางอ้อมอย่างมหาศาล จากการเก็บค่าโฆษณากับบริษัทต่างๆ ซึ่งไม่ได้เป็นผู้รับบริการโดยตรง
วิชาเศรษฐศาสตร์ไม่ได้สนใจเฉพาะการบริโภคทางวัตถุ การแสวงหาความมั่งคั่งร่ำรวย แต่หากศึกษาให้ลึกซึ้งจะพบว่า วิชานี้ให้ความสำคัญกับความสุขเป็นอันดับแรก ซึ่งหลายครั้งไม่ได้ตัดสินกันที่เรื่องราวทางวัตถุเพียงอย่างเดียว ดังนั้นผมซึ่งอาสาวิเคราะห์เรื่องราวทางเศรษฐศาสตร์ให้ผู้ฟังเข้าใจอย่างถึง แก่น จึงต้องมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับจิตใจเช่นเดียวกับวัตถุ หากสิ่งนั้นส่งผลต่อความสุขของผู้คนในสังคม
บทความนี้ได้เขียนขึ้นเมื่อราว 2 สัปดาห์ที่แล้ว โดยสะท้อนใจจากเรื่องราวของเด็กหญิงคนหนึ่ง ซึ่งน้องผมได้ไปสอนพิเศษ แต่เมื่อมาถึงวันนี้ (7 ตุลาคม 2550) ผมตัดสินใจว่าจะตัดส่วนนี้ทิ้งไป เพราะเป็นประเด็นละเอียดอ่อน แต่ในที่สุดได้เกิดความคิดฉับพลันขึ้นมาว่า เมื่อวานนี้ได้พูดคุยกับอาจารย์ธานี ชัยวัฒน์ อาจารย์ที่เป็นความหวังอันยิ่งใหญ่ของวงการเศรษฐศาสตร์ไทย เราพูดคุยกันหลายเรื่อง แต่มีเรื่องหนึ่งที่อาจารย์ได้จุดประกายขึ้นมา และบังเอิญพ้องกับบทความผมพอดีอย่างไม่คาดฝัน

ภาพประกอบจาก วิกิพีเดีย
บางทีอาจเป็นเรื่องตลก บางทีอาจเป็นความมหัศจรรย์ หรือเป็นเพียงการเผยแสดงของจักรวาล ผ่านการพ้องกันโดยบังเอิญ Synchornicity คงเป็นฟ้าดินเท่านั้นที่จะตอบคำถามนี้
หลายปีที่ผ่านมา ผมเรียนรู้ว่า อย่าทำตัวฝืนชะตา ต้องเลื่อนไหลสอดคล้องกับ Tao เราจึงจะพบความสุขสงบ
นี่คือ สาเหตุสำคัญที่ทำให้ผมจำเป็นต้องนำเรื่องนี้มาพูดถึง และผมไม่ประหลาดใจกับการพ้องกันแบบนี้อีกต่อไป ผมพร้อมจะเรียนรู้และปรับตัวเข้ากับความจริงของโลก อย่างรวดเร็ว มีหลายสิ่งในโลกที่เราไม่อาจคาดคำนวณ แต่สามารถรู้สึกสัมผัส และเคลื่อนคล้อยตาม แทบทุกครั้งเราจะพบว่า “มันคือสิ่งที่ถูกต้อง” ด้วยการมองย้อนหลังเท่านั้น จึงสามารถรู้ได้ว่า ทำไมเราจึงต้องทำเช่นนั้น
Connecting the dots เรื่องเล่าที่ 1 ของ Steve Jobs ในปาฐกถา Stanford 2005 จึงมีมนต์ขลังไม่เสื่อมคลายการหย่าร้างในปัจจุบัน ได้กลายเป็นปรากฏการณ์ที่สำคัญในสังคมไทย แต่ในเมื่อความเลวร้ายเกิดขึ้นแล้ว ผมอยากให้ผู้ฟังของผมมองโลกในแง่ดี รู้จักประยุกต์ใช้ วิธีคิดแบบ Revalue ซึ่งผมได้แนะนำถึงตลอดมาให้เป็นประโยชน์ ผมเข้าใจดีว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อน การหยิบยกพูดถึงอาจทำให้ผู้ฟังบางท่านรู้สึกกระอักกระอ่วนใจ แต่ในฐานะคนที่หวังดีต่อชาติ จำเป็นต้องเสียสละสักครั้ง
ผมขออุทิศรายการครั้งนี้ให้กับ เจ้าของโรงแรมแห่งหนึ่งและลูกน้อยของเธอ ซึ่งน้องสาวของผมได้ไปช่วยสอนพิเศษ และเมื่อถึงวันนี้ อาจต้องเพิ่มอาจารย์ธานี เข้าไปอีกคนหนึ่ง เพราะเขาเป็นคนที่ทำให้ผมไม่ตัดบทความส่วน
|
This entry was posted on 8:06 PM and is filed under . You can follow any responses to this entry through the RSS 2.0 feed. You can leave a response, or trackback from your own site.

0 comments: